วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

หางนกยูง 7-47160-001-019



สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้


ชื่อพรรณไม้     หางนกยูง            รหัสพรรณไม้   7-47160-001-019

        ไม้พุ่ม เรือนยอด ทรงพุ่ม รูปร่ม ความสูง 3-5 เมตร ความกว้างทรงพุ่ม 2-4 เมตร ถิ่นอาศัยเป็นพืชบก ลำต้นเหนือดินตั้งตรงเองได้ เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล ลักษณะขรุขระ ไม่มียาง ชนิดของใบ เป็นใบประกอบ แบบขนนกสองชั้น สีเขียว 14-20 ใบย่อยขนาดของใบย่อยกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร การเรียงตัวของใบบนกิ่งตรงข้าม รูปร่างแผ่นใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ ดอกช่อกระจะ ออกดอกปลายยอด กลีบเลี้ยงแยกจากกัน 5 กลีบ สีเขียว สีแดง สีเหลือง รูปดอกพิเศษเป็นรูปดอกถั่ว โคนเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้ 10 อัน สีแดง เป็นก้านยาว เกสรเพศผู้เมีย 10 อัน สีแดง รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก      มีกลิ่นเหม็น ชนิดของผลเป็นผลเดี่ยว เมื่อผลสด ผลดี เนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด เมื่อผลแห้งจะแก่แล้วแตกเป็นฝักแบบถั่ว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล รูปร่างผลยาวคล้ายถั่วลันเตา รับประทานได้ เมล็ดมีจำนวน 8-10 เมล็ด สีน้ำตาล ทรงกลม
        ชื่อพื้นเมือง คือ ส้มพอ(ภาคเหนือ), นกยูงไทย(ภาคกลาง), ภูสีสร้อย(ภาคอีสาน) เมล็ดสามารถรับประทานได้ เป็นยาถ่ายพยาธิ ดอกนำมาต้มเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน รากเป็นยาแก้วัณโรค รากเป็นยาขับประจำเดือนและแก้บวม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น